อ่าน 14167 ครั้ง
โภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
content/119.jpg
 

ภาวะโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง การรับประทานอาหารที่ดีและครบถ้วน ก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา อาหารที่ดีจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ต่อสู้กับผลข้างเคียงจากการรักษา ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วขึ้น

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยก่อนการรักษา

                ผู้ป่วยมะเร็งที่จะเข้ารับการรักษาจะต้องเตรียมตัวในด้านโภชนาการก่อนเริ่มรักษา เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในระหว่างการรักษา

  • ควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีน ทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ หมู เต้าหู้ไข่ และโปรตีนจากพืช เช่น เต้าหู้แผ่น ถั่วเหลือง ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว เพราะโปรตีนจากสัตว์และพืชจะมีคุณค่าทางโภชนาการบางอย่างต่อร่างกายไม่เหมือนกัน จึงควรรับประทานร่วมกัน
  • ไม่มีอาหารแสลงสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
  • รับประทานผักและผลไม้เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานสะสม
  • ดื่มนมและผลิตภัณฑ์นมอย่างสม่ำเสมอ

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาโดยการฉายรังสี

  • เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
  • รับประทานอาหารรสไม่จัด
  • กรณีกลืนอาหารลำบากให้รับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป-ho
  • ขนมหวานเช่นกล้วยบวดชี เผือกต้มน้ำตาล ถั่วเขียวต้มน้ำตาล (หากผู้ป่วยเป็นเบาหวานกรุณางดเมนูนี้เนื่องจากจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป)
  • แครกเกอร์ ผลไม้ หรือน้ำผลไม้
  • กรณีน้ำลายเหนียว แนะนำให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือก่อนรับประทานอาหาร จะช่วยให้การรับประทานอาหารดีขึ้น
  • กรณีที่มีอาการปวดแสบ ท้องเสีย หรือคลื่นไส้อย่างมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และควรงดอาหารที่มีกากใยสูงในช่วงแรกที่ท้องเสีย

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

                การรักษาด้วยเคมีบำบัด ผลข้างเคียงของการให้เคมีบำบัดที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการและระบบการย่อย ได้แก่ความอยากอาหารลดลง การรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยนไป เกิดแผลในช่องปาก คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักเปลี่ยนแปลง เกิดแผลในช่องปาก / คลื่นไส้อาเจียน น้ำหนักเปลี่ยนแปลง อาการอ่อนเพลีย การติดเชื้อจากเม็ดเลือดขาวต่ำ

 

อาหารที่แนะนำเมื่อได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

  • อาหารที่ใช้พลังงานและโปรตีนสูง ในช่วงระหว่างการให้เคมีบำบัด เช่น ซุบใสมันฝรั่ง โจ๊กหมูใส่ไข่ นม เนื้อสัตว์ ไขมันต่ำ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ขนมปังโฮลหวีท ผักลวก ผัดผัก สลัดไก่ + ไข่ น้ำผลไม้ ผักที่นำมาปรุงต้องล้างผ่านน้ำก๊อกนาน ๆ อย่างน้อยสองสามนาที ผลไม้สดที่ผ่านการล้างให้สะอาด อาหารที่ปรุงร้อน ๆ
  • เมื่อการรับรสและกลิ่นอาหารเปลี่ยน สามารถใช้สมุนไพร น้ำมะนาวช่วยในการรับรส การรับประทานผลไม้แช่เย็น ดื่มน้ำมะนาวโซดา และอื่น ๆ
  • หากความอยากอาหารลดลงให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง และต้องให้พลังงานและโปรตีนสูง เช่น นมอุ่น เนยถั่ว โจ๊กหมูสับใส่ไข่
  • หากท้องผูกให้รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ผลไม้สด เช่น กล้วยน้ำว้า แอปเปิ้ล ส้ม และดื่มน้ำมาก ๆ
  • หากท้องเสียให้หลีกเลี่ยงอาหารกากใยสูง ไขมันสูง ดื่มน้ำที่มีโซเดียมและโปรแตสเซียมสูง เช่นน้ำเกลือแร่
  • ถ้ามีแผลในปากให้หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด หรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
  • หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นฉุน อาหารที่มีรสหวานจัด อาหารมัน อาจจะรับประทานเย็นแทนร้อน
  • กรณีเม็ดเลือดขาวต่ำ ควรรับประทานอาหารที่สุกสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และหากเม็ดเลือดขาวต่ำมากควรงดกาบริโภคผักสด ผลไม้ทั้งเปลือก นมเปรี้ยว และโยเกิร์ต เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

 

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น เนื้อย่างสุก ๆ ดิบ ๆ ปลาที่มีกลิ่นคาว ไส้กรอกชนิดต่าง ๆ เบคอน เนื้อปลารมควัน ชีส เนย โยเกิร์ต มายองเนส เมล็ดถั่วที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสงป่นที่เก็บไว้นาน ๆ อาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศฉุนมาก

 

ขอบคุณที่มา: เอกสารเผยแพร่ความรู้ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

ขอบคุณภาพประกอบจาก freedigitalphotos.net โดย sritangphoto

 

 







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#