อ่าน 2524 ครั้ง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยันเลิกเชื่อข่าวลือ....สารก่อมะเร็งจากขวดน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ในรถไม่มีจริง
content/124.jpg
 

จากข่าวลือที่แพร่กระจายในสังคมออนไลน์หรือฟอร์เวิร์ดเมลเตือนให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่เก็บไว้ในรถยนต์ที่จอดกลางแดดนาน ๆ เนื่องจากมีสารก่อมะเร็งส่งผลให้ประชาชนทั่วไปตื่นกลัวนั้น นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ยืนยันว่าจากการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้เก็บตัวอย่างขวดน้ำดื่มหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาดมาทดสอบพบว่าน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางไว้ในที่ร้อน ๆ เช่น ในรถยนต์ที่จอดตากแดดนั้นไม่มีสารพิษไดออกซินที่ทราบกันดีว่าเป็นสารก่อมะเร็งแต่อย่างใด

 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ทำการสุ่มตัวอย่างน้ำดื่มจากท้องตลาดมาทดสอบ โดยซื้อขวดน้ำดื่มที่เป็นขวดพลาสติกขนาดเล็กมาหลายชนิดได้แก่ ขวดพลาสติกสีขาวขุ่นที่ทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) ขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) ขวดพลาสติกชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) และขวดพลาสติกใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อนที่ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) ที่บรรจุน้ำดื่มขายอยู่ในท้องตลาดจำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน ากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัวและทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้เทคนิคขั้นสูง ผลการทดสอบสรุปว่าไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง

 

ทั้งนี้นายแพทย์อภิชัยได้ชี้แจงว่าจากข้อมูลทางวิชาการของการศึกษาวิจัยที่มีการเผยแพร่ ก็ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าตรวจพบสารก่อมะเร็งไดออกซินและสารเคมีต่าง ๆ ละลายออกมาจากขวดพลาสติกที่สัมผัสกับความร้อนสูงหรือผ่านการแช่แข็งแต่อย่างใด ทั้งนี้ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการรับข่าวสารจากสื่อออนไลน์และควรพิจารณาถึงแหล่งที่มาและความน่าเชื่อถือของข่าวสารดังกล่าวก่อนปักใจเชื่อด้วย

 

enlightenedข่าวสุขภาพโดย รักสุขภาพดอทคอม Raksukkapap.com

ขอบคุณภาพประกอบจาก  freedigitalphotos.net โดย Toa55







Create your own banner at mybannermaker.com!








รักสุขภาพ : ข่าวสุขภาพ#บทความสุขภาพ#โรคน่ารู้#ลดความอ้วน#ลดน้ำหนัก#รักษาสิว#รักษาฝ้า#เบาหวาน#ความดัน#อาหารเสริม#ผิวขาว#กลูตาไธโอน#กาแฟลดน้ำหนัก#